Browsing: แบงค์เก่า แบงค์โบราณ ธนบัตรเก่า
ธนบัตรหมุนเวียน ยุครัชกาลที่ 8 ธนบัตรแบบ 8
เป็นธนบัตรแบบแรกที่เริ่มพิมพ์ทั้งสองด้าน ด้านหน้าเป็นภาพลายเฟื่องประกอบรัศมี ๑๒ แฉก ด้านหลังเป็นภาพพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงมักเรียกกันว่า “ธนบัตรแบบไถนา” ธนบัตรแบบ ๒ บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาลที่ ๗
ธนบัตร 1000 บาท แบบ 4 ผลิตโดยบริษัทโทมัสเดอลารู
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรีเฉลิมพระปรมาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ธนบัตรด้านหน้า องค์ประกอบสำคัญคือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลทรงเครื่องแบบจักรีอยู่เบื้องซ้าย ตรงกลางเป็นภาพทิวทัศน์ริมแม่น้ำปิง มีรูปไอราพตอยู่ที่มุมขวาล่าง หมวดอักษรและหมายเลขพิมพ์ด้วยหมึกสีแดง ใต้หมายเลขธนบัตรมีวันเดือนปีของธนบัตรพิมพ์ด้วยหมึกสีแดง ธนบัตรด้านหลัง ภาพประธานคือภาพพระสมุทรเจดีย์อยู่ภายในกรอบล้อมรอบด้วยลายเฟื่อง พิมพ์ข้อความแจ้งโทษของการปลอมแปลงธนบัตรไว้ที่ตรงกลางด้านล่าง ในวงกลมสีขาวด้านซ้ายล่างมีลายน้ำรูปช้างสามเศียรไอราพต
แบงค์ หนึ่งร้อยบาท ธนบัตร 100 บาท แบบที่10 เรือสุพรรณหงส์ เพื่อเป็นการเทิดทูนพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร (ร.๙) ขอนำเสนอธนบัตรที่ออกใช้ในรัชสมัย ร.๙ ธนบัตร 100 บาท แบบที่10 เรือสุพรรณหงส์ ด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นภาพประธาน ส่วนด้านหลังเป็นภาพเรือสุพรรณหงส์ และกำหนดให้พิมพ์สอดสีหลายสีและพิมพ์เส้นนูนสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสี ธนบัตรแบบสิบมีเพียงชนิดราคาเดียว พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๑ เป็นธนบัตรรุ่นเดียวที่ออกมาราคาเดียว 100 บาท แบงค์ลายเส้นสวยน่าสะสมมาก
ธนบัตรหมุนเวียน ยุครัชกาลที่ 8 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยไม่สามารถสั่งพิมพ์ธนบัตรจากบริษัทโทมัสเดอลารู ประเทศอังกฤษได้ เพราะอังกฤษอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร ไทยจึงประสบปัญหาขาดแคลนธนบัตร รัฐบาลจึงได้ขอให้ประเทศญี่ปุ่นผลิตธนบัตรให้โดยมีบริษัท Mitsui Bussan Kaisha เป็นตัวแทนติดต่อกับโรงพิมพ์ธนบัตรของรัฐบาลญี่ปุ่น การขนส่งธนบัตรจากญี่ปุ่นมาไทยมีทั้งการขนส่งทางอากาศและทางทะเล มีครั้งหนึ่งที่บริษัท Mitsui Bussan Kaisha แจ้งว่าเครื่องบินขนส่งขัดข้องต้องร่อนลงที่เกาะไหหลำ ทำให้หีบธนบัตร 100 บาท (รุ่น 2) หมวด ป 13 และ ป 14 แตกออกและไฟไหม้สูญหายไป 11,508 ฉบับ ต่อมากลับพบว่ามีธนบัตรหมวดดังกล่าวที่มีการพิมพ์ปลอมลายเซ็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกลับเข้ามาหมุนเวียนในไทย กระทรวงการคลังได้แถลงการเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2489 แจ้งหมายเลขธนบัตรที่ถูกกฎหมาย และผ่อนผันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับแลกธนบัตรปลอมหมวดนี้เฉพาะจากส่วนราชการที่มีหลักฐานเชื่อได้ว่าได้มาก่อนแถลงการณ์